ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กำหนด

มาตรฐานที่สูงกว่า

เมื่อคุณซื้อผลิตภัณฑ์ของ SC Johnson คุณสามารถมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะสอดคล้องกับมาตรฐานในปัจจุบันของรัฐบาล รวมทั้งมาตรฐานที่เข้มงวดของเราในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 

มาตรฐานภายในของเรา

นับตั้งแต่ปี 2001 โปรแกรมการเลือกส่วนผสม Greenlist ของ SC Johnson ได้ประกอบไปด้วยแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท โปรแกรม Greenlist ช่วยให้บริษัทสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่องโดยการเลือกส่วนผสมเพื่อช่วยปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น

โปรแกรม Greenlist มีความเข้มงวดมากกว่าที่กฎหมายกำหนด และเป็นการลงทุนที่สำคัญที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการตัดสินใจเกี่ยวกับส่วนผสมแต่ละรายการ แต่เรามีพันธกิจต่อครอบครัวที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา: เราจะนำเสนอทางเลือกที่ให้ข้อมูลที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ และใช้ข้อมูลนี้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีในการทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีประสิทธิภาพและปลอดภัย

โปรแกรม SC Johnson Greenlist 

ทุกส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ของ SC Johnson จะต้องผ่านการคัดกรองที่เข้มงวดของโปรแกรม Greenlist หัวใจสำคัญคือการประเมินผลแบบสี่ขั้นตอนที่อ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่ดูทั้งการก่อพิษและความเสี่ยง มีการเก็บข้อมูลชั้นยอดเป็นพื้นฐานและมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเราอย่างต่อเนื่องเป็นตัวขับเคลื่อน

การประเมินสี่ขั้นตอนของโปรแกรม Greenlist เป็นการตรวจสอบกับหลักเกณฑ์ต่อไปนี้:

  1. ภัยอันตรายเรื้อรังต่อสุขภาพของมนุษย์ เช่น ความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งหรือโรคในการสืบพันธุ์
  2. ภัยอันตรายระยะยาวทางสิ่งแวดล้อม หมายถึงความเสี่ยงที่จะตกค้าง เก็บสะสม และเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ความเสี่ยงเฉียบพลันทางสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เช่น ความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์ทะเล
  4. ผลกระทบอื่น ๆ เช่น ความเสี่ยงของส่วนผสมที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อผิวหนัง  

เราตั้งใจเลือกส่วนผสมที่ผ่านแต่ละขั้นตอนของกระบวนการประเมินสี่ขั้นตอนของเรา มีเพียงไม่กี่กรณี ที่พบว่าส่วนผสมที่ดีที่สุดที่หาได้อาจจะไม่ผ่านการประเมินหนึ่งในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อย่างเช่น ส่วนผสมที่เป็นตัวยาในยาฆ่าแมลง หากเป็นเช่นนั้น ส่วนผสมดังกล่าวต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดระดับที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราจะเพิ่มมาตรการระมัดระวังขึ้นไปอีกระดับ

การตั้งค่ามาตรฐานความปลอดภัย

ส่วนประกอบซึ่งมีอยู่บนโลก — ที่รวมถึงออกซิเจนและน้ำ — อาจกลายเป็นพิษได้หากมีปริมาณที่สูงพอ ดังนั้น ส่วนผสมทุกรายการในผลิตภัณฑ์ของ SC Johnson จะต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อตัดสินใจว่าต้องมีปริมาณมากน้อยเพียงใดจึงจะปลอดภัย แน่นอนว่าต้องมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรม แต่ที่ SC Johnson เราไปไกลยิ่งกว่า

เราเริ่มด้วยการประเมินภัยอันตรายโดยใช้ข้อมูลที่เราเก็บอย่างต่อเนื่อง เมื่อใดก็ตามที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดอันตราย เราจะทำการประเมินส่วนผสมดังกล่าวนั้น เพื่อพิจารณาว่าควรนำมาใช้ที่ความเข้มข้นในระดับใด โดยไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นั่นคือระดับที่ปลอดภัย

ดังนั้น เราจึงประเมินผลเพิ่มเติมโดยมุ่งเน้นที่การสัมผัส นักวิทยาศาสตร์ของ SC Johnson มีหน้าที่ตรวจสอบจุดประสงค์ของผลิตภัณฑ์และวิธีที่ผู้บริโภคอาจใช้งานผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เราพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคมีโอกาสใช้มากที่สุด และเลือกส่วนผสมและระดับของส่วนผสมที่ต้องการใช้

ตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง และเราก็ลงลึกยิ่งกว่านั้น เราตรวจสอบระดับในการสัมผัสกับส่วนผสม โดยสมมติว่ามีการใช้หลายครั้งต่อวัน เรายังคำนึงถึงหลากหลายวิธีในการใช้หรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแก้วที่ใช้บนโต๊ะเตรียมอาหาร เราคำนึงถึงสถานการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น และแยกย่อยรายละเอียดเพิ่มขึ้นหลายเท่าเพื่อกำหนดปัจจัยความปลอดภัยให้มากขึ้น 

เป้าหมายของเราคือกำหนดระดับ“ความปลอดภัยที่สูงขึ้นกว่าเดิม”ในแต่ละสถานการณ์ หลังจากนั้น เรากำหนดให้ระดับดังกล่าวเป็นระดับมาตรฐานที่ให้นักวิทยาศาสตร์ของ SC Johnson นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

เริ่มต้นด้วยข้อมูล

โปรแกรม Greenlist เกิดจากความทุ่มเทและความต่อเนื่องในการเก็บข้อมูลที่โดดเด่นที่สุดเรื่องส่วนผสมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แล้วยังมีการทบทวนข้อมูลซัพพลายเออร์และอุดช่องโหว่ต่าง ๆ ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำที่เปิดเผยต่อสาธารณชน

ขั้นตอนการประเมินสี่ขั้นตอนของเราเป็นการนำส่วนผสมทั้งหมดมาประเมินตามเกณฑ์แต่ละข้อ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกทำหน้าที่ประเมินภัยอันตราย ซึ่งช่วยให้ได้ผลการประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากอคติของส่วนผสมแต่ละรายการ

เราใช้วิธีเหล่านี้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ เราทำการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกครั้ง เมื่อมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ มารองรับ

นี่คือตัวอย่างของแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะที่เรานำมาใช้:

ECHA –ข้อมูลด้านสารเคมีขององค์การจัดการสารเคมีแห่งสหภาพยุโรป

TOXNET –ฐานข้อมูลเรื่องพิษวิทยา, สารเคมีอันตราย, อนามัยสิ่งแวดล้อม และการปล่อยสารพิษของสถาบันสุขภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา

eChem Portal –ข้อมูลคุณสมบัติสารเคมีขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

CA Prop 65– รายการสารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็ง ความผิดปกติแต่กำเนิดของ California Proposition 65
หรือเป็นอันตรายต่อระบบการสืบพันธุ์อื่น ๆ

INCHEM – เว็บไซต์ข้อมูลด้านความปลอดภัยของสารเคมีจากองค์กรระหว่างรัฐบาลของโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยของสารเคมี

ToxCast/EDSP 21 – โครงการคัดกรองสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมประเทศสหรัฐอเมริกา
 

หลักการใช้งานและข้อจำกัด

SC Johnson เปิดเผยรายชื่อส่วนผสมที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ของเราอย่างต่อเนื่อง รายการนี้เป็นรายการ“ที่ไม่อนุญาต” ซึ่งประกอบไปด้วยวัตถุดิบมากกว่า 200 ชนิด ที่แบ่งออกเป็นวัตถุดิบประมาณ 90 หมวดหมู่ และวัตถุดิบน้ำหอมมากกว่า 2,400 ชนิด วัตถุดิบเหล่านี้ตรงตามข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง—และคู่แข่งของเรานำไปใช้งานบ่อยครั้ง แต่วัตถุดิบเหล่านั้นไม่ได้ตรงกับมาตรฐานของ SC Johnson

กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล

เราออกแบบผลิตภัณฑ์ของเราให้สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมไปถึง:

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ซึ่งให้การคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าปลอม ฉลากปลอม การโฆษณาเกินจริง และการแข่งขันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม
  • พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งควบคุมการใช้สสารที่เป็นอันตรายในภาคการเกษตร สาธารณสุข ผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน
  • สำนักงานอาหารและยาของประเทศไทย ซึ่งกำกับดูแลการออกใบอนุญาตและการจดทะเบียนยา เครื่องสำอาง อาหาร และสารที่อาจเป็นพิษ
  • ประกาศของกระทรวงการพาณิชย์ว่าด้วยประเภทของผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ ฐาน กระบวนการในการแสดงปริมาณสินค้า และความผิดพลาดสูงสุดที่อนุญาต พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดแนวทางสำหรับผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่ขายและจัดจำหน่ายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงปริมาณสุทธิ ตัวผลิตภัณฑ์ และความผิดพลาดสูงสุดและต่ำสุดของปริมาณสินค้าในบรรจุภัณฑ์ที่อนุญาต
  • แนวทางของ CIPAC, WHO , FAO, OECD ซึ่งเป็นแนวทางที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยาฆ่าแมลงที่ออกโดยสภา ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสารกำจัดศัตรูพืช องค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
  • รวมทั้งกฎระเบียบอื่น ๆ ที่มีผลบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์บางรายการหรือบางประเภท